Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading  Processing Request

กระบวนการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ ; The Process of Promoting Elderly Active Ageing.

Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading   Processing Request
  • Additional Information
    • Publication Information:
      สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
    • Publication Date:
      2018
    • Collection:
      Thai Journals Online (ThaiJO)
    • Abstract:
      การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ บริบทครอบครัว และภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุ 30 คน โดยใช้แบบวัดสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของผู้สูงอายุ และแบบวัดภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ โดยวัด 3 ครั้ง คือ ก่อน-หลังการฝึกอบรม และระยะติดตามผล แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เป็นชุมชนลาวครั่งมีศรัทธาความเชื่อผีปู่ตาเจ้าบ้าน นับเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมายาวนาน และสืบทอดมาถึงทุกวันนี้ รูปแบบการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลัง มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1 “ทำความเข้าใจในตนเอง.กล้าก้าว” 2 “กระฉับกระเฉงทำกิจกรรมส่วนรวมเพื่อชุมชน” 3 “ขยายผลเพื่อความยั่งยืน” ผลการเปลี่ยนแปลง 5 ด้าน คือ ก) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับภาวะพฤฒิพลังก่อนหลัง และระยะติดตามผล ข) วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของค่าเฉลี่ยความรู้ก่อน หลังและระยะติดตามผล ค) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพรายด้านและองค์รวมก่อน หลังและระยะติดตามผล ง) พฤติกรรมสุขภาพด้านสังคม ปัญญาและสุขภาพองค์รวมคู่ที่แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลัง และ จ) ความแตกต่างระหว่างก่อนและระยะติดตามผล โดยทั้ง 5 ด้านมีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบผลการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ เช่น มีความกระตือรืนร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม เกิดการรวมกลุ่มกันเองตามธรรมชาติ และมีความสดชื่นร่าเริงแจ่มใส ; The objectives of this research are: 1) to study the living condition, family context and status of active aging. 2) To develop a model for active aging empowerment. 3) To study the outcome of behavior changing according to the active aging empowerment model. Research sampling are 30 active ageing. Research tools are the Buddhist elderly holistic health evaluation and Active aging status evaluation. Measuring 3 times: before, after training and follow up period, then analyzing data by Repeated Measures ANOVA. The research found that: The lifestyle of the elderly is mostly farmers, a Laokhrang community which still have faith and ...
    • File Description:
      application/pdf
    • Relation:
      https://www.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/140360/106050; https://www.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/140360
    • Online Access:
      https://www.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/140360
    • Rights:
      Copyright (c) 2018 Journal of MCU Nakhondhat ; https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
    • Accession Number:
      edsbas.3F30B8CC