Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading  Processing Request

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading   Processing Request
  • Additional Information
    • Publication Information:
      Chula Digital Collections
    • Publication Date:
      2021
    • Abstract:
      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษา และนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนพฤติกรรมในการใช้รูปแบบฯ กับคะแนนจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ ตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ แบบวัดจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ แบบสังเกตพฤติกรรมในการใช้รูปแบบฯ และแบบวัดพึงพอใจการใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที่แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Paired t-test Dependent Simples) ผลการวิจัย แบ่งออก 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ ผลจากการศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชียวชาญเกี่ยวกับร่างรูปแบบ ค่า IOC=0.89 สามารถนำไปทดลองใช้ได้ ระยะที่ 2 ผลคะแนนจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิเคราะห์การสังเกตพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ มีค่าเฉลี่ย 4.01 อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจิตสำนึกและคะแนนพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ คะแนนจิตสำนึกหลังเรียนสัมพันธ์กับคะแนนพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ สูง ที่ r=0.785 ผลคะแนนพึงพอใจในการใช้รูปแบบ ฯ มีค่าเฉลี่ย 4.72 อยู่ในระดับดี จึงได้สรุปองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบฯ ดังนี้ องค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ 1. ความเป็นองค์รวม (Holisticity) 2. การเรียนรู้สภาพจริง (Authenticity) 3. ความสอดคล้องกับบริบท (Contextuality) 4. การเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based inquiry learning) 5. กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ขั้นตอนของรูปแบบฯ ได้แก่ ขั้นที่ 1 เลือกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ (Pick an interesting phenomenon) ขั้นที่ 2 วิเคราะห์คุณค่าของบทเรียนที่มีอยู่ (Point out the Utility of Your Existing Lessons) ขั้นที่ 3 วางลำดับกิจกรรม (Plan a Sequqnce of Activities) ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน (Present what students have learned)
    • File Description:
      application/pdf
    • Relation:
      https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4996; https://digital.car.chula.ac.th/context/chulaetd/article/5995/viewcontent/6183885527.pdf
    • Accession Number:
      10.58837/CHULA.THE.2021.454
    • Online Access:
      https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.454
      https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4996
      https://digital.car.chula.ac.th/context/chulaetd/article/5995/viewcontent/6183885527.pdf
    • Rights:
      http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/
    • Accession Number:
      edsbas.CF58A364